เราขอนำเสนอเทคนิคดีๆเพื่อการเตรียมตัวต้อนรับเจ้าตัวเล็ก
เริ่มจากตั้งคำถามกับตัวเองก่อนรับเจ้าตัวเล็กเข้าบ้าน
การเริ่มต้นรับเลี้ยงลูกสุนัข หรือลูกแมวการตั้งคำถามเป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญที่ส่งผลต่อการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างคุณและสัตว์เลี้ยงไปอีกหลายๆปี ทั้งยังเป็นเหตุผลแรกก่อนที่กระบวนการรับเข้าบ้านเสียอีก
ก่อนการ “รับเข้าบ้าน” อย่าลืมที่จะถามคำถามที่ถูกต้องโดยตัดในเรื่องความพึงใจให้กับตัวคุณเองก่อน เช่นคุณมีเวลาเพียงพอที่จะดูแลพวกเค้าเหล่านั้นหรือไม่ มีงบประมาณเพียงพอที่จะดูแลพวกเค้าทั้งค่าใช้จ่ายประจำวัน หรือหากมีเหตุที่ไม่คาดคิดเกิดขึ้น รวมถึงปัญหาสุขภาพต่างๆที่อาจเกิดเมื่อพวกเค้าอายุมากขึ้น จำไว้ว่า “สัตว์เลี้ยงต้องมีค่าใช้จ่ายที่คุณต้องให้การลงทุนอย่างเฉพาะเจาะจง และยั่งยืน”
มีการเตรียมพร้อมเพื่อการต้อนรับสมาชิกใหม่
คุณควรจัดเตรียมให้พร้อมก่อนการรับสัตว์เลี้ยงเข้าบ้านใหม่ อย่างน้อยคุณควรมีอุปกรณ์ต่างๆได้แก่ ภาชนะใส่น้ำและอาหาร อาหารสูตรที่เหมาะสม สายจูง ที่นอน ฯลฯ เพื่อให้เค้าได้เข้ามาอยู่ในสถานที่ที่สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้พวกเค้าได้
เมื่อเด็กๆมาถึงบ้านใหม่ ทั้งลูกสุนัข และลูกแมว พวกเค้ามักแสดงอาการตื่นกลัว วิตกกังวล กับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างกระทันหัน โดยเฉพาะจากการที่ย้ายจากฟาร์มเพาะพันธุ์ในต่างจังหวัดที่มีธรรมชาติ และพื้นที่ที่กว้างขวาง มาอยู่บ้านในเมือง มีพื้นที่จำกัด เป็นต้น
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้นส่งผลต่อสภาพจิตใจ และร่างกายของเจ้าตัวน้อยอย่างรุนแรง และคุณจำเป็นต้องมีส่วนในการช่วยเหลือให้พวกเค้าผ่านช่วงเวลานี้ไปได้อย่างรวดเร็ว เริ่มจากคุณควรได้ใช้เวลาอยู่ร่วมกับพวกเค้าอย่างเพียงพอ มีการแสดงออกถึงความห่วงใย ใส่ใจ มอบความอบอุ่นทั้งทางกาย และทางจิตใจเช่นการเตรียมที่อยู่ ที่นอนที่ปลอดภัย อบอุ่น รวมถึงคำพูด และการสัมผัสที่อ่อนโยน
ตรงกันข้ามกับสิ่งที่คุณอาจเคยได้ยินมา คุณสามารถพาพวกเค้าไปอยู่ในห้องนอนของคุณก็ได้ในคืนแรกๆที่เข้ามาอยู่ในบ้าน เพื่อมั่นใจได้ว่าพวกเค้าจะไม่เกิดอันตราย หรือบาดเจ็บ รวมทั้งยังช่วยเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างคุณกับพวกเค้าอีกด้วย
ทั้งเรื่องการเตรียมตัวต้อนรับ และการมีทัศนคติที่ดี คือสิ่งที่ควรทำไปควบคู่กันเมื่อมีสมาชิกใหม่เข้ามา ทั้งนี้ก็เพื่อมอบการต้อนรับ สร้างสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย และยังควรงดกิจกรรมต่างๆที่มีโอกาสสร้างความเครียดให้กับเจ้าตัวเล็ก ได้แก่การอาบน้ำ ตัดขน การแยกตัวในระยะเวลายาวนาน
การฝึกต่างๆ ทั้งเรื่องสุขอนามัย การปรับพฤติกรรม อาจจะทำได้อย่างค่อยเป็นค่อยไปช้าๆ อย่าลืมว่าเค้าก็คือเด็กเล็กๆที่ยังไม่สามารถจดจ่อกับการฝึกใดๆได้นาน ดังนั้นใจเย็นๆไว้คือหลักการที่คุณต้องคอยเตือนตัวเอง
อย่างที่บอกไว้ข้างต้นเจ้าตัวเล็กไม่ต่างกับเด็กน้อยคนหนึ่ง พวกเค้าชอบเรียนรู้ แต่ยังไม่มีประสบการณ์ ดังนั้นพฤติกรรมที่แสดงออกถึงการช่างค้นหา ช่างขุดคุ้ย ก็คือส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ โดยคุณก็จำเป็นที่จะเตรียมตัว คอยระมัดระวัง และป้องกันอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ที่สำคัญพวกเค้าไม่รู้จักกับอันตรายจากสารพิษ ดังนั้นการทิ้งขยะประเภทน้ำยา สารเคมี หรือสารพิษเช่นยาฆ่าแมลงต่างๆ จึงไม่ควรแค่ทิ้งลงในถังขยะ เพราะถังขยะมักเป็นเป้าหมายของการคุ้ยเขี่ยของเจ้าตัวเล็กนั่นเอง หรืออย่างน้อยก็ควรเป็นถังขยะที่แข็งแรง มีฝา และอยู่สูงพอที่พวกเค้าจะไม่มีโอกาสที่จะคุ้ยเล่นได้