แนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตบนเล้าคลอด

Score3.6 (5 Votes)

แนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตบนเล้าคลอด

แนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตบนเล้าคลอด

แนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตบนเล้าคลอด
ในปัจจุบันพบว่ามีการพัฒนาสายพันธุ์สุกรให้มีขนาดครอกที่ใหญ่มากขึ้น โดยพบว่าในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมาพบว่ามีขนาดครอกรวมเพิ่มขึ้น 0.9 ตัว/ครอก จาก 13.8 เป็น 14.7 ตัว/ครอก ขนาดครอกมีชีวิตเพิ่มขึ้น 0.8 ตัว/ครอก จาก 11 เป็น 11.8 ตัว/ครอก 
 
1.png
 
ซึ่งปัจจัยนี้ส่งผลต่อคุณภาพของลูกสุกรแรกคลอดอย่างมาก ดังจะสังเกตได้จากการที่อัตราการสูญเสียก่อนหย่านมไม่ได้ลดลงมากนัก แม้จะมีการดูแลที่มากขึ้น โดยการที่ขนาดครอกใหญ่ขึ้น ส่งผลให้เกิดปัญหาตามมาได้แก่
 
1. น้ำหนักแรกคลอดต่ำ
จากการศึกษาพบว่า หากมีลูกเพิ่มขึ้น 1 ตัว/ครอก จะทำให้น้ำหนักของลูกสุกรในครอกนั้นๆ ลดลงโดยเฉลี่ย 41 กรัม/ตัว (Quiniou et al., 2002) และยังพบว่าการที่น้ำหนักแรกคลอดต่ำยังสัมพันธ์กับอัตราการสูญเสียก่อนหย่านมที่สูงขึ้นด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะกลุ่มลูกสุกรที่มีน้ำหนักแรกคลอดต่ำกว่า 1 กิโลกรัม ที่มีอัตราการรอดชีวิตเพียง 45% เท่านั้น (Le Colzer et al., 2004)
2.png
 
2. พบลูกสุกรที่ไม่สมบูรณ์ (IUGR) สูงขึ้น
ลูกสุกร IUGR คือลูกสุกรที่ไม่สมบูรณ์ ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอในช่วงก่อนคลอด โดยลูกสุกรกลุ่มนี้จะมีน้ำหนักแรกคลอดต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของครอกอยู่ประมาณ 20% หัวมีลักษณะคล้ายปลาโลมา (Dolphin head shape) ซึ่งลูกสุกรกลุ่มนี้มีอัตราการรอดชีวิตเพียงประมาณ 50% ( Kerr et al., 2012; Amdi et al., 2013)
3.1.png    3.2.png
 
3. เพิ่มการแตกไซส์ของลูกสุกรในครอกเดียวกัน
จากการศึกษาพบว่ายิ่งสุกรมีขนาดครอกที่ใหญ่ จะพบว่าจะทำให้เกิดการแตกไซส์ของลูกสุกรแรกคลอดสูง ซึ่งยิ่งมีการแตกไซส์มาก อัตราการสูญเสียก่อนหย่านมก็จะสูงขึ้น (Roehe and Kalm, 2000)
 
4.png
 
4. ความพยายามมีชีวิตรอด (Vitality score) ต่ำลง
ลูกสุกรที่มีความพยายามมีชีวิตรอดต่ำ จะมีโอกาสได้รับนมน้ำเหลืองน้อย ทำให้ได้รับสารอาหารและพลังงานไม่เพียงพอในช่วงแรกของชีวิต ทำให้การปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมนอกร่างกายแม่สุกรได้ไม่ดี ทำให้มีโอกาสเสียชีวิตสูงในช่วง 3 วันแรก นอกจากนี้ลูกสุกรกลุ่มนี้ยังมีโอกาสได้ภูมิคุ้มกันจากแม่สุกรไม่เพียงพอ ทำให้มีโอกาสป่วยและสูญเสียทั้งในช่วงก่อนและหลังหย่านม (Sacy & Le Treut, 2011)
5.png
 
จากปัจจัยต่าง ๆ ข้างต้นทำให้อัตราการสูญเสียก่อนหย่านมที่สูงยังคงเป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับสัตวแพทย์ สัตวบาลและเกษตรกร ในการที่จะทำให้ประสิทธิภาพการผลิตของฟาร์มเป็นไปตามเป้าหมาย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ทางบริษัทเวอร์แบคฯ จึงหาเครื่องมือที่จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือผลิตภัณฑ์พอร์ซิสตาร์ท (Porcistart) โดยมีองค์ประกอบ 3 ส่วน เพื่อการใช้งานที่ลงตัว อันได้แก่
 
1. อาหาร
ผลิตจากองค์ประกอบถึง 33 ชนิด เพื่อให้เหมาะสมสำหรับลูกสุกร โดยผลิตจากวัตถุดิบที่ระบบทางเดินอาหารของลูกสุกรสามารถย่อยและดูดซึมได้ง่าย กระตุ้นความอยากอาหารและกระตุ้นการพัฒนาของระบบทางเดินอาหาร
2. บรรจุภัณฑ์
ผลิตจากวัสดุที่มีความแข็งแรงทนทาน และสามารถรีดเนื้ออาหารออกมาได้หมด ประกอบกับใช้เทคโนโลยีพิเศษในการเก็บรักษาอาหาร ทำให้สามารถรักษาคุณภาพของอาหารได้ยาวนานถึง 2 ปี
3. อุปกรณ์
ถาดอาหาร: ถูกออกแบบให้มีความลึกและความกว้างให้เหมาะสมกับลูกสุกรช่วง 10 วันแรก ซึ่งจะลดปัญหาการเข้าไปนอนในถาดอาหาร รวมทั้งสีของถาดที่เป็นสีน้ำเงิน จะดึงดูดความสนใจของลูกสุกรได้เป็นอย่างดี
แผ่นยาง: มีน้ำหนักถึง 1.5 กิโลกรัมและขอบแบนราบไปกับพื้น ทำให้ช่วยลดปัญหาการคว่ำถาดหรือการเคลื่อนย้ายถาดออกจากจุดที่เหมาะสม
  
6.png
 
นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์พอร์ซิสตาร์ทยังมีองค์ประกอบพิเศษที่ทำให้ตัวผลิตภัณฑ์แตกต่าง อันได้แก่
1. สารสกัดจากสาหร่าย: เป็นแหล่งของโอเมก้า 3 ซึ่งจะเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สาร DHA ที่จำเป็นต่อกระพัฒนาระบบประสาทและภูมิคุ้มกันของลูกสุกร
2. กรดบิวทีเรท: ส่งเสริมการพัฒนาของระบบทางเดินอาหาร ส่งเสริมการพัฒนาของเชื้อแบคทีเรียที่มีประโยชน์และควบคุมเชื้อแบคทีเรียก่อโรคในทางเดินอาหาร
3. สารสกัดจากชาเขียว: มีสารโพลีฟีนอลที่มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระและมีคาเฟอีน ที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบทางเดินหายใจและหัวใจ
4. เวย์โปรตีนเข้มข้น: เป็นแหล่งโปรตีนย่อยง่ายและมีความน่ากินสูง
 
ด้วยคุณสมบัติพิเศษของผลิตภัณฑ์พอร์ซิสตาร์ท ทำให้ผลการทดสอบในภาคสนามเป็นที่ยอมรับทั่วโลก รวมถึงผลการทดลองในประเทศไทยก็ให้ผลในทิศทางเดียวกับผลการทดลองในประเทศอื่นๆ ทั่วโลก สิ่งเหล่านี้บ่งบอกถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์พอร์ซิสตาร์ท ในการเป็นตัวช่วยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของฟาร์มสุกรได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะประสิทธิภาพการผลิตบนเล้าคลอด   
 
7.png
 
8.png
9.png
รายงานการศึกษาผลการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในลูกสุกรช่วงหลังคลอด - หย่านม ด้วยผลิตภัณฑ์ พอร์ซิสตาร์ท (PORCISTART)
การดำเนินการศึกษา ได้แบ่งการศึกษาในฟาร์มสุกร 2 รูปแบบ คือมีอัตราการสูญเสียก่อนหย่านมสูงกว่า > 10%  (การทดลองที่ 1 และการทดลองที่ 2) และในฟาร์มที่มีอัตราการสูญเสียก่อนหย่านมต่ำกว่า 10 % (การทดลองที่ 3 และการทดลองที่ 4)
ดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพการผลิต การทดลองที่ 1

e1.png

จากผลการทดลองที่ 1 พบว่าผลิตภัณฑ์ พอร์ซิสตาร์ท สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตบนเล้าคลอดได้ โดยลดอัตราการสูญเสียก่อนหย่านมลง 18.80% (หรือคิดเป็นสัดส่วน 68.07%) เพิ่มน้ำหนักหย่านม 0.34 kg/ตัว (หรือคิดเป็นสัดส่วน 4.92%) และเพิ่มอัตราการเจริญเติบทั้งแบบรายตัว (ADG + 17.98 g/d) และรายครอก (ADLWG + 1,115.38 g/d) จากผลการทดลองดังกล่าวสามารถคิดความคุ้มค่าในการลงทุน (ROI) ณ วันหย่านม ที่ 5.39 เท่า คือ ลงทุน 1 บาท ได้เงินคืนมา 5.39 บาท หรือคิดความคุ้มค่าในการลงทุน (ROI) ณ วันขายส่งตลาด ที่ 52.63 เท่า คือ ลงทุน 1 บาท ได้เงินคืนมา 52.63 บาท
 
e2.png
 
จากผลการทดลองที่ 2 พบว่าผลิตภัณฑ์ พอร์ซิสตาร์ท สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตบนเล้าคลอดได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยลดอัตราการสูญเสียก่อนหย่านมลง 20.43% (หรือคิดเป็นสัดส่วน 65.57%) (p-value < 0.01) เพิ่มน้ำหนักหย่านม 0.97 kg/ตัว หลังปรับวันหย่านมเท่ากันที่ 27 วัน เท่ากัน (หรือคิดเป็นสัดส่วน 17.12%) (p-value < 0.001) และเพิ่มอัตราการเจริญเติบทั้งแบบรายตัว (ADG + 34.27 g/d) (p-value < 0.001) และรายครอก (ADLWG + 789.22 g/d) (p-value < 0.001) จากผลการทดลองดังกล่าวสามารถคิดความคุ้มค่าในการลงทุน (ROI) ณ วันหย่านม ที่ 5.95 เท่า คือ ลงทุน 1 บาท ได้เงินคืนมา 5.95 บาท หรือคิดความคุ้มค่าในการลงทุน (ROI) ณ วันขายส่งตลาด ที่ 57.83 เท่า คือ ลงทุน 1 บาท ได้เงินคืนมา 57.83 บาท
 
e3.1.png
จากผลการทดลองที่ 3 พบว่าผลิตภัณฑ์ พอร์ซิสตาร์ท สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตบนเล้าคลอดได้อย่างมีนัยสำคัญ แม้ในฝูงที่มีขนาดครอกไม่ใหญ่ และมีอัตราการสูญเสียก่อนหย่านมต่ำ โดยลดอัตราการสูญเสียก่อนหย่านมลง 2.29% (หรือคิดเป็นสัดส่วน 56.30%) เพิ่มน้ำหนักหย่านม 0.4 kg/ตัว (หรือคิดเป็นสัดส่วน 7.63%) (p-value < 0.001)  และเพิ่มอัตราการเจริญเติบทั้งแบบรายตัว (ADG + 17.21 g/d) (p-value < 0.001) และรายครอก (ADLWG + 321.33 g/d) (p-value < 0.05)   จากผลการทดลองดังกล่าวสามารถคิดความคุ้มค่าในการลงทุน (ROI) ณ วันหย่านมนั้น อาจจะยังไม่เห็นความคุ้มค่าที่ชัดเจน แต่หากคิดความคุ้มค่าในการลงทุน (ROI) ณ วันขายส่งตลาด จะมีค่า ROI ที่  13.80 เท่า คือ ลงทุน 1 บาท ได้เงินคืนมา 13.80 บาท
 
e3.1.png
 
นอกจากนี้ในการทดลองครั้งนี้ ได้มีการเก็บข้อมูลรายตัวจากสุกร ทำให้พบว่า ผลิตภัณฑ์ พอร์ซิสตาร์ทให้ผลเชิงบวก ในการเพิ่มน้ำหนักของสุกรทุกช่วงน้ำหนักแรกคลอด ยกเว้นในกลุ่มน้ำหนักแรกคลอด 0.9 kg ที่ได้รับพอร์ซิสตาร์ท  ที่พบอาการท้องเสีย ทำให้น้ำหนักหย่านมต่ำกว่า ทุกช่วงน้ำหนักแรกคลอด
 
e4.png
 
จากผลการทดลองที่ 4 พบว่าผลิตภัณฑ์ พอร์ซิสตาร์ท สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตบนเล้าคลอดได้อย่างมีนัยสำคัญ ในฝูงที่มีขนาดครอกใหญ่ แต่มีอัตราการสูญเสียก่อนหย่านมต่ำ โดยลดอัตราการสูญเสียก่อนหย่านมลง 0.84% (หรือคิดเป็นสัดส่วน 24.35%) เพิ่มน้ำหนักหย่านม 0.87 kg/ตัว (หรือคิดเป็นสัดส่วน 13.87%) (p-value < 0.001) และเพิ่มอัตราการเจริญเติบทั้งแบบรายตัว (ADG + 24.57 g/d) (p-value < 0.001) และรายครอก (ADLWG + 318.07 g/d) (p-value < 0.001) จากผลการทดลองดังกล่าวสามารถคิดความคุ้มค่าในการลงทุน (ROI) ณ วันหย่านมนั้น อาจจะยังไม่เห็นความคุ้มค่าที่ชัดเจน เช่นเดียวกับการทดลองที่ 3 แต่หากคิดความคุ้มค่าในการลงทุน (ROI) ณ วันขายส่งตลาด จะมีค่า ROI ที่  20.39 เท่า คือ ลงทุน 1 บาท ได้เงินคืนมา 20.39 บาท

ให้คะแนนสำหรับเนื้อหานี้: 5 4 3 2 1

เลือกผลิตภัณฑ์